เมนูอาหาร เด็กแพ้ง่าย Plant based Whole food สำหรับทารกและเด็กเล็ก วัย6เดือนขึ้นไป

หน้าแรก/พัฒนาการเด็ก/เมนูอาหาร เด็กแพ้ง่าย Plant based Whole food สำหรับทารกและเด็กเล็ก วัย6เดือนขึ้นไป
เมนูอาหาร เด็กแพ้ง่าย Plant based Whole food สำหรับทารกและเด็กเล็ก วัย6เดือนขึ้นไป

เมนูอาหาร เด็กแพ้ง่าย Plant based Whole food คืออาหารเน้นพืชเป็นหลัก หรือที่เรียกสั้นๆว่า PBWF เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่ง เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับ เด็กแพ้ง่าย

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ แน่นอนว่าสิ่งที่อยากให้ลูกน้อยได้รับประทานนั้น เราต้องแน่ใจแล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด ให้คุณค่าทางสารอาหารได้ครบถ้วนที่สุด และต้องไม่ทำให้ลูกแพ้ด้วย อย่างไรก็ตาม อาหารที่ทำให้ทารกและเด็กเล็กเกิดอาการแพ้กันบ่อยนั้น มักเป็นอาหารง่ายๆ ใกล้ตัวที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน เช่น นมวัว ถั่ว แป้งสาลี ไข่ขาว อาหารทะเล หรืออาหารแปรรูปต่างๆ นอกจากนี้ ทั้งสารเคมีและสารปนเปื้อนในอาหารก็เป็นอีกปัญหาหนักอกสำหรับพ่อแม่หลายๆ ท่านที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยทารกตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงวัยเด็กเล็ก

คำถามคือ เราจะหลีกเลี่ยง อาหารที่ทำให้ลูกแพ้ ได้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่าอาหารชนิดใดบ้างที่ปลอดภัย ไม่ทำให้ลูกเกิดอาการแพ้ และควรให้ลูกรับประทานอาหารชนิดใดเป็นการทดแทนเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

” หนึ่งในทางแก้สำหรับอาการแพ้อาหารในเด็กที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุด ก็คือ การรับประทานอาหารแบบ Plant based whole food หมายถึง แนวทางการรับประทานอาหารที่เน้นพืชเป็นหลัก โดยพืชผักหรือธัญพืชที่รับประทานต้องไม่มีการสกัด ไม่มีการขัดสี และไม่มีการแปรรูปใดๆ “

คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกรับประทานอาหาร PBWF ได้หลายวิธี โดยเริ่มได้ตั้งแต่วัยทารกเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป นอกจากอาหาร PBWF จะช่วยป้องกันอาการแพ้ของลูกและช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่ดีในระยะยาวแล้ว อาหารแบบ PBWF ยังช่วยให้ลูกกระตือรือร้นและฉลาดขึ้นด้วย

เหตุผลที่ควรให้ลูกเริ่มต้นรับประทานอาหาร PBWF ตั้งแต่ยังเล็ก?

· PBWF ทำให้ลูกมีความเสี่ยงในการแพ้อาหารลดลง

แนวทางการรับประทานอาหารแบบ PBWF หรือการรับประทานอาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงธรรมชาตินั้น หมายถึงการลดการรับประทานอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแปรรูป หรือแป้งสาลี ดังนั้น เด็กที่รับประทานอาหารตามแนวทาง PBWF ก็จะมีปัญหาเรื่องอาการแพ้ และปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารน้อยลง

· อาหารในหมวด  PBWF มีสารก่อภูมิแพ้ในปริมาณที่น้อยมาก

เมื่อลูกวัยทารกอายุครบ 6 เดือนขึ้นไปควรให้เริ่มทานอาหาร PBWF เพราะมีสารก่อภูมิแพ้น้อยกว่าอาหารทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น ข้าวกล้องบด หรือข้าวกล้องบดผสมผักผลไม้ชนิดต่างๆ เช่น แครอท ผสมกล้วย หรือฟักทอง

· PBWF ทำให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้นภายในเวลา 4 สัปดาห์เท่านั้น

วารสารกุมารเวชศาสตร์ในสหรัฐอเมริการะบุว่า เด็กที่รับประทานสารอาหารพืชเป็นหลักในรูปแบบใกล้เคียงอาหารธรรมชาติกลุ่มโฮลฟู้ดที่เน้นพืชผักผลไม้ (Plant-based, whole food) นั้น มีน้ำหนักและค่าความดันโลหิตที่ลดลง รวมทั้งมีค่าโคเลสเตอรอลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นภายในเวลาเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น

· การรับประทานอาหาร PBWF มีส่วนทำให้เด็กมีไอคิวสูงกว่าค่าเฉลี่ย

จากผลการศึกษาในปี 1980 ของนักโภชนาการจากศูนย์การแพทย์นิว อิงแลนด์ในเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา นักวิจัยได้วัดไอคิวของเด็กที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ และพบว่าเด็กที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ รวมทั้งเด็กที่ทานเนื้อสัตว์น้อยแต่ทานพืชผักมากนั้นมีค่าไอคิวเฉลี่ยมากถึง 116 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วไป1

· การรับประทานอาหาร  PBWF ทำให้เด็กมีรูปร่างที่ได้สัดส่วน

จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับโรคในเด็กแห่งสหรัฐอเมริกา (American Journal of Diseases of Children) เมื่อปี 1990 พบว่า หลังจากการศึกษาระยะยาวเป็นเวลา 2 ปี ในนักเรียนอายุ 6-18 ปี จำนวน 2,272 คน พบว่านักเรียนที่ทานอาหารมังสวิรัตินั้นมีรูปร่างที่ผอมกว่า2แม้ว่าการรับประทานอาหาร PBWF จะมีข้อดีมากมาย คุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็ยังคงกังวลว่าการรับประทานอาหารตามแนวทางดังกล่าวอาจทำให้ลูกเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหาร PBWF นั้นไม่จำเป็นต้องให้ลูกงดการทานเนื้อสัตว์ไปเลย แค่เพียงลดปริมาณของเนื้อสัตว์กับอาหารแปรรูปให้น้อยลง และรับประทานอาหารที่เน้นผักผลไม้และธัญพืชเป็นหลักให้มากขึ้น นอกจากนี้การรับประทานอาหาร PBWF นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ผักใบเขียว หากให้ลูกรับประทานผักและธัญพืชหลากหลายชนิด ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วน ยกตัวอย่างเช่น การได้รับโปรตีนจากถั่วฝักเมล็ดกลม (peas) ถั่วฝักเมล็ดไม่กลม (bean) ถั่วเลนทิล (Lentil) คาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีแต่น้อย (whole grains) โดยเฉพาะข้าวกล้อง และไขมันจากอะโวคาโด มะกอก ถั่วเปลือกแข็ง (nut) เมล็ดพืช

ยกตัวอย่าง เมนูอาหาร Plant based Whole food สำหรับทารกและเด็กเล็ก วัย 6 เดือนขึ้นไป

• สูตร A บำรุงสายตาให้ลูกน้อย

ฟักทองประกอบไปด้วยวิตามินเอและแคโรทีนอยด์ ซึ่งช่วยบำรุงสายตาและทำให้การมองเห็นในที่ที่มีแสงน้อยดีขึ้น หากรับประทานข้าวกล้องบดผสมกับฟักทอง นอกจากลูกจะได้รับวิตามินบีหลายชนิดจากข้าวกล้องบดแล้ว ยังช่วยบำรุงสายตาให้ลูกรักของคุณไปด้วยในตัว

· สูตร B กระตุ้นระบบย่อยอาหารของลูกน้อย

หากลูกคุณมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย ลองให้ทานข้าวกล้องบดผสมแครอท เพราะการรับประทานแครอทนั้นช่วยให้ลูกมีระบบขับถ่ายที่ดีขึ้น เมื่อผสมแครอทกับข้าวกล้องบดซึ่งประกอบด้วยไฟเบอร์สูง ก็ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายของลูกน้อยดีขึ้นอีกทวีคูณ

· สูตร C เพิ่มพลังให้ลูกรัก

กล้วยนั้นอุดมไปด้วยน้ำตาลธรรมชาติมากถึง 3 ชนิด ได้แก่ ฟรุคโทส ซูโครส และกลูโคลส ทำให้ลูกได้รับพลังงานจากน้ำตาลธรรมชาติ นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตในกล้วยยังเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานได้ทันที เมื่อให้ลูกทานข้าวกล้องบดผสมกับกล้วย ลูกก็จะได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตอย่างเต็มเปี่ยมแน่นอน

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ทารกวัย 6 เดือนขึ้นไปจนถึงเด็กเล็ก เริ่มรับประทานอาหาร PBWF เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้ลูกรักได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน ก่อนเลือกผลิตภัณฑ์หรืออาหาร PBWF ให้ลูกทาน ควรเช็คก่อนว่าอาหารหรืออาหารเสริมดังกล่าวไม่ได้ผ่านการสกัด การขัดสี และการแปรรูปใดๆ รวมทั้งต้องเป็นผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค 100% ด้วย


ข้อมูลอ้างอิงจาก
1 Jane Brody [The New York Times]. New York:Personal Health; Available from :
www.nytimes.com/1987/03/25/garden/personal-health-796387.html?pagewanted
2 Joan Sabaté, MD, DrPH; Kristian D. Lindsted, PhD; Ralph D. Harris, MB ChB, FAAP; et al: Anthropometric Parameters of Schoolchildren With Different Life-styles; Available from: http://archpedi.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=515381#tab6