ทำความเข้าใจการนอนของเด็กทารก ในแต่ละช่วงวัย

หน้าแรก/วิธีเลี้ยงลูก/ทำความเข้าใจการนอนของเด็กทารก ในแต่ละช่วงวัย
ทำความเข้าใจการนอนของเด็กทารก ในแต่ละช่วงวัย

คุณแม่มือใหม่เมื่อพาลูกกล้บบ้านแล้ว จะต้องเตรียมรับมือกับธรรมชาติของเจ้าตัวน้อยโดยเฉพาะเรื่องการนอน เพราะพฤติกรรมการนอนของเด็กทารกแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากคุณแม่เข้าใจกลไกการนอนของลูกจะทำให้รับมือกับปัญหาการนอนของเด็กทารกได้อย่างสบาย

การนอนหลับของทารกโดยปกติมีสองระยะ การนอนของทารกจะประกอบไปด้วยการนอนสองระยะนี้สลับกันไปตลอดทั้งคืน ในช่วงแรกของทารกจะมีการนอนน้อยกว่า 1 ชั่วโมง และจะเพิ่มนานขึ้นเกือบสอบเท่าเมื่อทารกอายุมากขึ้น การกรอกลูกตาจะสั้นลง ทารกอาจตื่นและอยู่เงียบๆ ได้ในช่วงสุดท้ายของการนอนแต่ละรอบ สามารถกลับไปหลับต่อได้เอง

  1. ระยะที่มีการกรอกลูกตา – จะเป็นช่วงที่ทารกยังหลับไม่สนิท มีการกรอกตาไปมา จะตื่นง่ายเมื่อได้ยินเสียงหรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก ถอนหายใจแรง และอาจจะมีการตื่นขึ้นมาร้องไห้ในช่วงสั้น ๆ ร่วมกับกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว
  2. ระยะที่ไม่มีการกรอกลูกตา – การเต้นของชีพจรและอัตราการหายใจจะสม่ำเสมอ ทารกนอนนิ่งสงบหรือมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมาก แล้วในช่วงที่หลับลึกที่สุดร่างกายจะผ่อนคลาย ตื่นยาก จะไม่มีการฝัน หายใจช้า สม่ำเสมอ

สำหรับการนอนของทารกในแต่ละวัน

การนอนของลูกในช่วง 0-3 เดือน : การหลับและตื่นจะมีช่วงเวลาที่เท่าๆ กัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ประมาณ 20 ชั่วโมงต่อวัน มีเวลาตื่นที่ไม่แน่นอน และมีการเปลี่ยนแปลงเวลานอนไปทุกสัปดาห์ มักจะนอนช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน จะปรับมานอนตอนกลางคืนตามปกติในไม่ช้า

การนอนของลูกในช่วง 3-6 เดือน : เจ้าตัวเล็กจะหลับกลางวันน้อยลง และนอนกลางคืนมากขึ้น โดยจะหลับรวดเดียวไปจนถึงเช้า ไม่ตื่นมากินนมตอนกลางคืนเหมือนเมื่อก่อน ตรงนี้นั้นก็ไม่จำเป็นต้องปลุกให้ลูกตื่นมาดูดนมหรือกลัวว่าจะหิว เพราะลูกได้กินนมไว้เต็มที่แล้ว

วัยที่เตาะแตะจะนอนวันละประมาณ 11-12 ชั่วโมง ทารกในวัย 9 เดือน ร้อยละ 70 จะหลับยาวตลอดคืน ถ้าได้นอนอย่างเพียงพอก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและอารมณ์ของลูกน้อย เด็กจะตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่น ไม่งอแง พร้อมเรียนรู้ตามพัฒนาการได้อย่างสมวัยและเต็มที่ การได้นอนหลับยาวนั้นจะส่งผลดีต่อลูกน้อยที่ Growth Hormone ในร่างกายจะทำงานในขณะหลับ จะช่วยให้ร่างกายของลูกเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

กรณีที่ลูกน้อยตื่นมาร้องไห้ตอนกลางคืนนั้น ถือเป็นเรื่องปกติของทารกในวัย 6 เดือนแรก อาจจากสาเหตุเช่น หิว ผ้าอ้อมเปียกแฉะ หรือเล่นในเวลากลางวันมากไป คุณแม่ควรเข้าไปกอด หรือลูบหัวลูกเบาๆ และให้นมลูก ทั้งนี้พอลูกน้อยอายุเริ่มมากขึ้นลูกจะเริ่มหลับยาวขึ้นได้เองตลอดทั้งคืน