พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8 เตรียมตัวคลอด

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8 เตรียมตัวคลอด
พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8 เตรียมตัวคลอด

ตั้งครรภ์ เดือนที่ 8 ทารกจะมีลำตัวยาว 40 เซนติเมตร นํ้าหนักประมาณ 2 กิโลกรัม เดือนนี้ถือเป็นเดือนสำคัญของทั้งคุณแม่และลูกน้อย เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการเตรียมตัวคลอด ยังคงเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว กระดูกแข็งแรงขึ้น ผิวจะเจริญเหมือนคนปกติ สมองพัฒนาเต็มที่ เส้นประสาททำงานได้เต็มที่ ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของลูกน้อยจะพัฒนาเต็มที่ พัฒนาการต่างๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งในด้านร่างกาย การสื่อสาร และการรับรู้ต่างๆ

ทั้งนี้ พัฒนาการทางร่างกาย สามารถเคลื่อนไหว ดูดนิ้วมือ นิ้วเท้าได้ ตุ่มรับรสเริ่มทำงาน เด็กจะรับแสง เสียง ความเจ็บปวด ถ้าเป็นเด็กชายอัณฑะจะ เคลื่อนจากช่องท้องลงถุงอัณฑะ รวมถึงกลืนน้ำคร่ำได้ ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้การรับรสชาติจากอาหารที่คุณแม่กิน

สำหรับผมของทารกเริ่มขึ้นเต็มศีรษะ ผิวเริ่มเป็นสีชมพู เพราะมีไขมันสีขาวสะสมใต้ผิวหนัง เล็บมือเล็บเท้าจะงอกยาว ขนอ่อนที่ปกคลุมทารกในช่วงไตรมาสที่สองเริ่มหลุดออก อาจจะเหลืออยู่บ้างบริเวณไหล่ และคอตอนคลอด ส่วนผิวหนังยังเหี่ยวย่นเนื่องจากชั้นไขมันยังน้อย ทารกในท้องจะปัสสาวะออกมามาก ดังนั้นในถุงน้ำครํ่าจึงจะปนไปด้วยปัสสาวะลูกค่อยข้างมาก

นอกจากนี้ ทารกยังสามารถฟัง รู้สึก และมองเห็นได้บ้าง ดวงตาสามารถรับแสงและ รูม่านตาสามารถหดและขยายตอบสนองแสงได้ ปอดของทารกในครรภ์เติบโตเกือบสมบูรณ์เต็มที่ และจากการที่ทารกในครรภ์มีขนาดโตขึ้นมากอาจจะทำให้พื้นที่ในการขยับร่างกายในมดลูกน้อยลง โดยทารกอาจจะขยับน้อยแต่ว่าทารกจะแข็งแรงขึ้น

ในช่วงสัปดาห์ท้ายๆของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเริ่มส่งต่อภูมิคุ้มกันที่อยู่ในเลือดไปยังลูกน้อยในท้อง ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะช่วยปกป้องทารกจากโรคภัยไข้เจ็บและเชื้อโรคต่าง ๆ หลังจากที่เขาคลอด ภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะทำหน้าที่ในช่วง 2 – 3 เดือนแรกในช่วงหลังคลอด ก่อนที่ลูกจะเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันได้ด้วยตัวเอง การให้นมแม่ก็สามารถช่วยยืดอายุภูมิคุ้มกันให้กันทารกได้จากแอนตี้บอดี้ที่อยู่ในน้ำนม

อย่างไรก็ตาม เพื่อเตรียมคลอด ทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของศีรษะเพื่อให้ขนาดเล็กลงหรือเรียกว่า molding เกิดขึ้นจากการที่กระดูกกะโหลกศีรษะทารกชนิดแบนและรอยต่อเคลื่อนเข้ามาเกยกัน ขณะศีรษะทารกถูกผลักดันลงมาเสียดสีกับช่องเชิงกรานที่แคบ ทำให้ศีรษะทารกเบี้ยวและยืดยาวผิดธรรมชาติแต่ไม่เป็นอันตรายต่อสมองทารกและหาย ไปได้เองภายหลังคลอด