พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 ทารกสามารถลืมตาได้แล้ว

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 ทารกสามารถลืมตาได้แล้ว
พัฒนาการของทารกกับการ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 7 ทารกสามารถลืมตาได้แล้ว

เดือนที่ 7 ของการ ตั้งครรภ์ เข้าสู้ไตรมาสที่สาม หรือช่วงสุดท้ายของการตั้งท้อง ความยาวของตัวทารกตั้งแต่หัวจรดเท้าประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1 กิโลกรัม อวัยวะต่างๆของลูกน้อยถูกพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นระบบทางเดินหายใจยังคงพัฒนาต่อจนถึงวันคลอด ช่วงนี้ทารกจะเริ่มสะสมไขมันใต้ผิวหนังทั่วทั้งตัวเพื่อรักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย รวมทั้งปกป้องผิวหนังจากของเหลวอื่นๆ และสามารถขยับนิ้ว กำมือ และมีการพัฒนาลายนิ้วมือ ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตัวเองขึ้นมา

สำหรับพัฒนาการที่สำคัญคือ ทารกเริ่มลืมตาแล้ว โดยระบบนัยน์ตาพัฒนาขึ้นเกือบสมบูรณ์ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 150 ครั้งต่อนาที ด้านต่อมไขมันเริ่มทำงานแล้ว ทำให้ผิวของทารกในครรภ์จึงเริ่มมีความชุ่มชื่นมากขึ้น ชั้นไขมันเพิ่มขึ้น และมีผมยาวขึ้นเรื่อยๆ

ในส่วนของสมองของทารกพัฒนาขึ้น จนโตเต็มกะโหลกศีรษะ และมีร่องหยักบนเนื้อสมอง ส่วนเซลล์ประสาทเชื่อมโยงเครือข่ายกันอย่างสมบูรณ์ เริ่มมีไขมันห่อหุ้มเส้นประสาทเหมือนกับที่ไขสันหลัง รอยหยักสมองพัฒนา รวมถึงขยายต่อเนื่อง ซึ่งทารกในครรภ์จะสามารถจดจำเสียงและสัมผัสภายนอกจากคุณแม่ได้เเล้ว มีการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจาม ดูดมือ ดูดนิ้วเท้า

ขณะเดียวกัน ทารกจะมีฝึกการดูดนม พร้อมทั้งจะมีการขับถ่ายปัสสาวะออกมาสู่น้ำคร่ำวันละหลายถ้วย โดยทารกก็จะกลืนกินน้ำคร่ำกลับเข้าไปแล้วขับถ่ายปัสสาวะออกมาอีกปริมาณน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำที่มากกว่าปกติ เรียกว่าครรภ์แฝดน้ำ อาจจะหมายถึงการที่ทารกไม่สามารถที่จะกลืนน้ำคร่ำได้อย่างเป็นปกติ หรือ มีการอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร ส่วนปริมาณน้ำคร่ำที่มีน้อยกว่าปกติ อาจจะหมายถึงทารกมีภาวะที่ไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้อย่างเป็นปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ การวัดปริมาณน้ำคร่ำสามารถทำได้ ด้วยการตรวจอัลตราซาวนด์ สำหรับน้ำคร่ำที่ถูกดูดกลืนเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 500 มิลลิลิตรต่อวัน และทารกสามารถสะอึกได้ แม่ตั้งครรภ์อาจจะรู้สึกกระตุกเป็นจังหวะในมดลูก

นอกจากนี้ ลูกน้อยจะเริ่มฝึกหายใจด้วยการใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นจังหวะขึ้นลง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจด้วยตัวเองตอนแรกคลอด รวมทั้ง ทารก ยังคงเคลื่อนไหวรุนแรงต่อเนื่อง และทารกในท้องบางคนจะเริ่มหมุนตัวเอาส่วนหัวลงในลักษระคล้ายเตรียมตัวคลอดแล้ว