ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 คุณแม่ต้องระวังเรื่องภาวะครรภ์เป็นพิษ

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 คุณแม่ต้องระวังเรื่องภาวะครรภ์เป็นพิษ
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 38 คุณแม่ต้องระวังเรื่องภาวะครรภ์เป็นพิษ

สัปดาห์ที่ 38 ของการ ตั้งครรภ์ ทารกมีนํ้าหนักเกือบ 3 กิโลกรัม ลำตัวยาวกว่าประมาณ เกือบ 50 เซนติเมตรแล้ว อวัยวะภายในของทารกส่วนใหญ่พัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว ยกเว้นปอดที่ยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก ลูกน้อยยังคงใช้เวลาในการพัฒนาระบบการหายใจของตัวเองอยู่ โดยไขเคลือบผิวของเจ้าตัวน้อยจะลอกออกมาปะปนอยู่ในน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป น้ำดีและน้ำคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไปจะสะสมอยู่ในลำไส้ของทารกไปจนถึงคลอด ซึ่งทารกจะถ่ายของเสียนี้ออกมาเป็นอุจจาระสีเขียวแก่ที่เรียกว่า ขี้เทา

ในส่วนของเซลล์ประสาทเกือบทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับทารกจะถูกสร้างขึ้นเกือบหมดแล้วก่อนที่ทารกจะคลอด ระบบเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทในสมองทารกจะยาวขึ้น หนาขึ้น และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ไตรมาสสุดท้ายกำลังผ่านไป ระยะนี้ท้องของทารกมีขนาดเกือบเท่าศีรษะ มีพัฒนาการเกือบครบถ้วน รอบเอว เพิ่มขึ้นเกือบเท่าศีรษะ เป็นผลมาจากการเติบโตของตับด้วยเช่นกัน และดวงตา เริ่มไวต่อแสงมากขึ้น

สำหรับช่วงตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 สมองของทารกจะเติบโตเร็วมาก มีน้ำหนักเกือบถึง 400 กรัม ทารกไม่ต้องการสารอาหารมากเป็นพิเศษ สามารถทานอาหารของคนท้องที่มีสารอาหารที่เหมาะสมได้ตามปกติ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงควรเน้นการดื่มน้ำให้มากเพียงพอ เพื่อทดแทนของเหลวที่สูญเสียไปในการถ่ายท้อง โดยความสูงของยอดมดลูกลดต่ำลง หรือ ภาษาทั่วไปเรียกว่า ท้องลด การกลับเปลี่ยนท่าเตรียมคลอดศีรษะของลูกไปกดทับกระเพาะปัสสาวะของคุณแม่พื้นที่ในการเก็บน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะลดลง ส่งผลให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยยิ่งขึ้นอีก

อย่างไรก็ตาม การลุกเข้าห้องน้ำบ่อยครั้ง เสี่ยงต่อการหน้ามืดเป็นลม จากการผุดลุกผุดนั่ง และนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นคุณแม่ควรลดการดื่มน้ำช่วงค่ำ และงดดื่มน้ำก่อนเข้านอน ด้านโภชนาการ โดยข้อควรระวังของคุณแม่เพิ่มเติมในช่วงนี้ คืออาการปวดหัวขั้นรุนแรง จนทำให้ตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว และปวดท้องร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณอันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่คุณแม่ต้องระวังเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ คุณแม่ต้องเตรียมตัวสำหรับช่วงหลังคลอดได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเสื้อผ้าของใช้ของลูกดูอีกครั้งว่าขาดเหลืออะไรหรือไม่ ที่สำคัญคือ อุปกรณ์ปั๊มนม ขวดนม แผ่นซับน้ำนมไว้ และหากมีเวลาว่างให้อ่านวิธีการให้นมลูก เพื่อเตรียมพร้อมให้มากที่สุด

อนึ่ง คุณแม่ควรใช้ช่วงเวลานี้ตกลงกับครอบครัว และคุณพ่อถึงบทบาทของแต่ละคนในวันคลอด ใครเข้าห้องคลอด ใครถ่ายภาพ และอื่นๆ เป็นโอกาสที่ดีในการกระชับความสัมพันธ์ของครอบครัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ที่เกิดขึ้นมา