ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ผ่านมาครึ่งทางของการตั้งท้องแล้ว คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ผ่านมาครึ่งทางของการตั้งท้องแล้ว คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 20 ผ่านมาครึ่งทางของการตั้งท้องแล้ว คุณแม่จะหิวบ่อยขึ้น

สัปดาห์ที่ 20 ของการ ตั้งครรภ์ จากเดือนที่ 4 กำลังจะเข้าสู่เดือนที่ 5 หรือ ผ่านมาครึ่งทางของการตั้งท้องแล้ว ขณะนี้ทารกมีความยาวประมาณ 22 เซนติเมตร จากหัวถึงเท้า ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 294 กรัม ผิวของลูกน้อยจะเริ่มหนาขึ้น รวมถึงกำลังพัฒนาชั้นผิวหนัง ทารกหัดกลืนได้มากขึ้น และยังเป็นช่วงที่เขาจะเริ่มขับถ่ายเป็นครั้งแรก เพราะในลำไส้จะมีการรวมตัวกัน ของเซลล์ที่ตายแล้ว น้ำย่อยและน่ำคร่ำต่างๆ ที่เจ้าตัวเล็กกลืนลงไปท้อง อึก่อนแรกของเขาจะ ออกมาเป็นสีดำๆเหนียวๆ เรียกว่า meconium ที่เกิดจากเซลล์ที่ตายแล้ว และน้ำคร่ำที่เกิดกลืนเข้าไป

ทั้งนี้ เซลล์ประสาทภายในสมองกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ รวมทั้งระบบประสาทสัมผัสต่างๆ อาทิ ต่อมรับรส การได้ยิน การมองเห็น และมีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อที่ชัดเจนมากขึ้น

สำหรับคุณแม่ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวบ่อยขึ้น ทานได้ทั้งวัน จึงต้องเน้นทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยพยายามแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ 5 – 6 มื้อต่อวัน ระหว่างวันก็สามารถทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ก็สามารถช่วยควบคุมความหิวได้ดีทีเดียว นอกจากนั้น ต้องดื่มน้ำเยอะๆ พยายามหากิจกรรมต่างๆทำบ่อยๆ

ในส่วนของอาการปวดหลัง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อาจเกิดจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นที่บริเวณท้อง ทำให้กล้ามเนื้อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น หรือท่าเดิน ยืน นั่ง ที่ไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากการที่กระดูกสันหลังส่วนล่างโก่งงอออกเพื่อรองรับการขยายตัวของมดลูก กระดูกสันหลังจะบิดตัวเองซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณแม่รู้สึกปวดหลังได ป้องกันโรคปวดหลังโดย อย่ายืนนาน นั่งเก้าอี้ให้ถูกท่า เวลานอนให้มีหมอน เมื่อยกของให้ใช้กล้ามเนื้อขาแทนกล้ามเนื้อหลัง และมักจะมีอาการตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งแม้จะสร้างความรำคาญให้คุณแม่ แต่การตกขาวจะมีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด

อย่างไรก็ตาม สัปดาห์ที่ 20 คุณแม่ยังต้องการธาตุเหล็กในปริมาณที่มากอยู่ เนื่องจากทารกต้องการใช้สำหรับการเจริญเติบโต สร้างเม็ดเลือดแดงและรก ผักโขมและปลาทูน่าเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก คุณแม่ที่ไม่มั่นใจเรื่องสารอาหาร อาจปรึกษาแพทย์เพื่อทำให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนมากที่สุด โดยในช่วงนี้รกมีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งเลื่อนขึ้นด้านบนเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อมดลูกมีขนาดโตขึ้น คุณแม่ที่มีรกเกาะต่ำเมื่ออายุครรภ์น้อยๆ บางครั้งเมื่อมดลูกโตขึ้นภาวะดังกล่าวอาจจะหายไปเอง และท้องคุณแม่จะเริ่มแอ่นไปข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ต้องระมัดระวังตัวในการเคลื่อนไหว