ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 พอรู้เพศของทารกในครรภ์แล้ว คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 พอรู้เพศของทารกในครรภ์แล้ว คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 พอรู้เพศของทารกในครรภ์แล้ว คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเพิ่มขึ้น

การ ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 15 เริ่มมีความน่าตื่นเต้นมากขึ้น เพราะหากให้คุณหมออัลตร้าซาวด์ดู อาจจะพอรู้เพศของทารกในครรภ์บ้างแล้ว โดยความยาวของเด็กจะประมาณ 9-10 เซนติเมตร และจะมีนํ้าหนักประมาณ 50 กรัม หรือมีขนาดประมาณผลแอปเปิ้ล ซึ่งตอนนี้ทารกจะเริ่มขยับร่างกายได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นศีรษะ ริมฝีปาก ลิ้น แขน ข้อมือ มือ ขา เท้า และพัฒนาการอีกอย่างคือ ทารกสามารถสะอึกและกำมือได้แล้ว

ส่วนกระดูกชิ้นเล็กๆ ของหูชั้นกลางกำลังแข็งขึ้น แต่ยังได้ยินไม่ชัดเจนนัก เพราะกล้ามเนื้อใบหน้าที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในขณะนี้ทำให้แสดงสีหน้าต่างๆ ได้ อาทิ ทำหน้านิ่ว คิ้วขมวด เบิ่งตา รวมถึงมีการปล่อยบราวน์แฟตที่เป็นไขมันซึ่งสร้างความอบอุ่นให้กับทารกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนคลอดออกมา และเริ่มมีขนคิ้ว เส้นผม ขนตา ตลอดจนรากผมเริ่มสร้างเม็ดสีให้กับเส้นผม ขณะที่ผิวยังบางใสจนสามารถมองทะลุเห็นเส้นเลือดที่กำลังพัฒนา

สำหรับคุณแม่ รกจะเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณแม่มีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอีกด้วยวิตามิน ซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่

นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีอาการเป็นหวัดได้ง่าย ไอบ่อย โดยเป็นไข้หวัดที่เกิดขึ้น ไม่ใช่มาจากดูแลตัวเองได้ไม่ดี แต่เกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายของแม่จะลดต่ำลง เพื่อไม่ให้ร่างกายของแม่ปฏิเสธทารกในครรภ์ ซึ่งความดันโลหิตของคุณแม่จะลดลง เนื่องจากฮอร์โมนของการตั้งครรภ์จำทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตเกิดการขยายตัวมากขึ้น จนถึงสัปดาห์ที่ 24 ความดันโลหิตจึงจะกลับไปสู่ระดับเดิมก่อนการตั้งครรภ์

ทั้งนี้ สัปดาห์ที่ 15 คือช่วงที่คุณแม่อาจถูกแพทย์ตรวจครรภ์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การคลำท้องเพื่อตรวจดูว่าทารกมีการเติบโตที่ดี , ตรวจอัลตราซาวน์ร่วมกับตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติทางพันธุกรรม อาทิ ดาวน์ซินโดรม และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างเช่น เจาะน้ำคร่ำ หรือตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงภาวะความผิดปกติทาง พันธุกรรมเพื่อความแม่นยำมากขึ้นในการวิเคราะห์ว่าลูกจะมีความผิดปกติหรือไม่ ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการแท้งแฝงอยู่เล็กน้อย โดยต้องอยู่ที่ดุลพินิจของแพทย์ และของคุณพ่อ และคุณแม่เพื่อช่วยตัดสินใจต่อไป

คำแนะนำในช่วงนี้ คุณแม่ต้องดูแลสุขภาพและความสะอาดให้มากกว่าเดิม ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือดื่มน้ำผลไม้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ส่วนเมนูอาหารช่วงนี้ต้องเน้นวิตามินเอ จาก แครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย และ ฟักทอง เป็นต้น