
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 13 ตอนนี้ทารกในครรภ์จะมีความยาวประมาณ 75 มม. และจะหนักประมาณ 20 กรัม กระดูกอ่อนค่อยๆเจริญเติบโตแล้ว เส้นเลือดดำและอวัยวะต่างๆ ก็เริ่มมองเห็นชัดขึ้นผ่านผิวหนังบางๆ เนื้อเยื่อที่จะพัฒนาเป็นกระดูกจะก่อตัวขึ้นที่ศีรษะ แขนและขา เราอาจมองเป็นซี่โครงท่อนเล็ก ตอนนี้ขากรรไกรมีเหง้าฟันครบ 32 เหง้า โดยจะสามารถเคลื่อนไหวและยืดตัวอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งเตะและหมุนตัวด้วย
นอกจากนั้น ทารกจะเริ่มดูดปากกลืนน้ำคร่ำและปล่อยเป็นปัสสาวะออกมา เล็บและผมยาวขึ้น รกยังคงเป็นแหล่งอาหารและออกซิเจนของลูก ในแต่ละสัปดาห์ สัดส่วนของเด็กจะเหมือนเด็กแรกเกิดมากขึ้น และตอนนี้ศีรษะมีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของลำตัว ด้านอวัยวะภายใน ลำไส้ได้เคลื่อนที่เข้าไปในตัวมากขึ้นตับเริ่มหลั่งน้ำดีและตับอ่อนเริ่มผลิตอินซูลิน กำลังมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอด้วยแม้ว่าคุณจะไม่สามารถรู้สึกได้ เนื้อเยื่อกระดูกกำลังปรากฏ
ย่างเข้าสู่การ ตั้งครรภ์ เดือนที่ 4 คุณแม่จะมีความรู้สึกหิวมากขึ้น เริ่มอยากทานอาหารบางชนิดหรือเลิดอาหารบางชนิด และอาจรู้สึกกกระปรี้กระเปร่าขึ้น เพราะปัญหาอาการคลื่อนไส้อาจจะไม่มีแล้ว โดยรกพัฒนาเกือบสมบูรณ์ พร้อมผลิตฮอร์โมนตัวหลัก คือ โพรเจสเทอโรนและเอสไทรออล ซึ่งรังไข่ได้ผลิตก่อนหน้านี้ ฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญยิ่งในการคงสภาวะครรภ์ และทำให้เกิดการเปลี่ยนออกซิเจน ส่งผ่านอาหาร และขับถ่ายของเสีย ถ้าคุณยังไม่ได้ประกาศให้ผู้อื่นทราบเรื่องการตั้งครรภ์ก็ประกาศได้ด้วยความมั่นใจในเวลานี้ เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนลดน้อยลงมากแล้ว
ในส่วนของหน้าอกของคุณแม่จะเริ่มผลิตน้ำนมเพื่อเตรียมสารอาหารสำคัญให้พร้อมสำหรับทารกที่จะออกมาลืมตาดูโลก โดยมดลูกจะโตขึ้นกว่าเดิมมากขึ้นจนโผล่พ้นจากบริเวณอุ้งเชิงกรานมาที่บริเวณท้อง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น
นอกจากเรื่องของนํ้าหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ท้องของคุณแม่ใน สัปดาห์ที่ 13 จะมีขนาดใหญ่โตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคุณแม่ควรเตรียมหาซื้อชุดคลุมท้องไว้ได้เลย เพราะคุณแม่หลายท่านที่ตั้งครรภ์ เมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 4 ผู้ที่มีท้องโตมากๆ หากรู้สึกอึดอัด ไม่คล่องตัว สามารถเริ่มเปลี่ยนมาใส่ชุดคลุมท้องได้เลย
ทั้งนี้ มีคำแนะนำว่าคุณแม่ไม่ควรยืนนานๆ ถ้าต้องนั่งทำงานนานๆ ควรเลือกนั่งเก้าอี้สูงมีพนักพิงรองรับหลังส่วนล่าง โดยวิธีการเลือกเก้าอี้ให้เหมาะกับคุณแม่นั้นไม่ยากค่ะ คือเลือกเก้าอี้ที่คุณแม่นั่งแล้วสามารถวางฝ่าเท้าแนบสนิทกับพื้นได้ และต้องหลีกเลี่ยงการการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับสารเคมี ตะกั่ว และรังสีเอกซเรย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารก