ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 เริ่มมีปุ่มแขนขาเล็ก ๆ ขึ้นมา รวมทั้งมีหางเล็กๆ โผล่ออกมาด้วย

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 เริ่มมีปุ่มแขนขาเล็ก ๆ ขึ้นมา รวมทั้งมีหางเล็กๆ โผล่ออกมาด้วย
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 เริ่มมีปุ่มแขนขาเล็ก ๆ ขึ้นมา รวมทั้งมีหางเล็กๆ โผล่ออกมาด้วย

การ ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 7 ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มเคลื่อนไหวแล้ว แม้ว่าทารกอาจมีขนาดแค่ 2 นิ้ว ขนาดของทารกประมาณเท่าลูกตะขบ หรือมีขนาดใหญ่กว่าสัปดาห์ที่แล้วเกือบ 2 เท่า แต่ก็กำลังมีพัฒนาการที่น่าตื่นเต้นทีเดียว เนื่องจากว่า ถึงทารกจะมีขนาดเพียงเท่านิ้วก้อยของคุณ แต่เขาก็มีมือ เท้า แขน และขาน้อย ๆ แล้ว

ช่วงนี้ทารกจะมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ซึ่งเซลล์สมองของทารกในครรภ์จะถูกพัฒนากว่า 100 เซลล์ต่อนาทีสมองและหัวใจของทารกจะเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ตับของทารกในครรภ์จะเริ่มฟอกเซลล์เม็ดเลือดแดงได้แล้ว และจะทำหน้าที่นี้ไปจนกว่าไขกระดูกจะพัฒนาขึ้นเพื่อรับหน้าที่นี้ต่อไป รวมถึงเริ่มมีปุ่มแขนขาเล็ก ๆ ขึ้นมา รวมทั้งมีหางเล็ก ๆ โผล่ออกมาด้วย ซึ่งหางเล็กๆจะค่อยๆกลายเป็นกระดูกก้นกบในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ขณะที่ฟันและลิ้นเริ่มพัฒนาขึ้นทีละน้อย และหูของทารกก็จะเริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน

การตั้งท้องอายุครรภ์ 2 เดือนคุณแม่จึงจำเป็นต้องสังเกตพัฒนาการทางร่างกายของเจ้าตัวน้อยอย่างใกล้ชิด และจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างสมดุลและครบถ้วนในการเสริมสร้างร่างกายของลูกน้อย สิ่งที่ทำได้ง่ายๆคือ คุณแม่ต้องพยายามรับประทานผักและผลไม้ให้หลากหลาย เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาจทานโปรตีนจากปลาและไข่ หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และงดการทานอาหารดิบ อาทิ ซูชิ ลาบ

ขณะเดียวกัน คุณแม่ยังต้องทานโฟเลตวันละอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) ไปอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิดในทารกแล้ว ยังช่วยสร้างระบบประสาทของทารก รวมทั้งช่วยให้เซลล์สามารถแบ่งตัวได้อย่างเป็นปกติ  และคุณแม่ควรทานกล้วยเพราะอุดมไปด้วยวิตามินบีและโฟเลต โดยเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลังของทารก กล้วยหนึ่งผลให้โฟเลตราว 12% ของความต้องการพลังงานในแต่ละวัน ที่มากกว่าผลไม้ทั่วไป

ในส่วนของความเปลี่ยนแปลงทางร่ายกาย คุณแม่จะรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อาจจะยังมีอาการแพ้ท้องอยู่ และเต้านมอาจจะยังรู้สึกคัดตึง เจ็บ โดยการปฏิบัติตัว ไม่ควรปล่อยให้กระเพาะอาหารของคุณว่าง เพราะจะทำให้รู้สึกคลื่นไส้ได้ ให้หาของว่างวางไว้ใกล้ๆ มือตลอดเวลา และให้แบ่งรับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ แทนที่จะเป็นสามมื้อใหญ่เหมือนแต่ก่อน เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้รับประทานโปรตีนด้วย อาทิ การเพิ่มชีสเข้าไปในแครกเกอร์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเพศของเด็กจะถูกกำหนดตั้งแต่ช่วงปฏิสนธิ แต่ฮอร์โมนที่เป็นตัวแบ่งแยกเพศจะถูกปล่อยออกมาในช่วงอายุครรภ์ 2 เดือน และนี่ก็เป็นช่วงที่อวัยวะเพศของทารกจะเริ่มพัฒนา