อาการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/อาการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้
อาการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่ควรรู้

เมื่อเข้าสู่การตั้งครรภ์ ในช่วง 4-6 เดือน หรือในไตรมาสที่ 2 คุณแม่คงมีความคุ้นเคยกับอาการบางอย่างแล้ว และเริ่มปรับตัวได้ง่ายขึ้นแล้ว คุณแม่จึงรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น โดยในช่วงนี้ท้องคุณแม่จะใหญ่ขึ้น สังเกตได้ชัด และรู้สึกตื่นเต้นมากๆ เพราะลูกดิ้นได้แล้ว แต่ก็ยังมีอาการที่ทำให้ไม่สบายตัวอยู่บ้าง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่าคุณแม่ท้องในไตรมาสที่ 2 จะมีอาการอย่างไรบ้าง

อาการคนท้องไตรมาส 2

  1. น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้น เพราะว่าสามารถทานอาหารได้มากขึ้น ที่สำคัญถ้าไม่อยากอ้วนมากเกินไป ควรทานในส่วนชองคุณแม่พอ ไม่ควรทานเผื่อลูก แต่ว่าคุณต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยายามควบคุมแป้งและน้ำตาลด้วย และถ้าหิวก็ควรทานผลไม้แทนอาหารว่างที่มีไขมันสูง
  2. ผิวหน้าท้องขยายตัวมากขึ้น เส้นตรงท้อง ลานนมและหัวนมมีสีคล้ำมากขึ้น กลีบต่อมน้ำนมและเซลล์ต่อมน้ำนมจะชัดเจนขึ้น จะมีน้ำนมคัดหลั่งเป็นสีใสขุ่น แต่ยังไม่เป็นน้ำนม น้ำใสขุ่นนี้อุดมด้วยสารอาหารที่สำคัญ และเมื่อคุณตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ต่อมน้ำนมจะขายเพิ่มขึ้นและมีเส้นเลือดดำมาเลี้ยง และเซลล์กล้ามเนื้อรอบๆ ท่อน้ำนมจะหนาขึ้นเพื่อพร้อมให้นมลูก
  3. ริดสีดวง คุณแม่ท้องมีโอกาสเป็นริดสีดวงได้ เพราะว่ามดลูกไปกดทับเส้นเลือดดำด้านขวาของร่างกาย ทำให้เลือดดำตรงทวารหนักปูดออกมาได้ ทำให้เกิดการเสียดสีและเกิดเลือดออกตรงทวารหนักได้ หากคุณเป็นต้องพยายามรักษาความสะอาดให้ดี และแช่ก้นด้วยน้ำอุ่นครั้งละ 15 นาที สลับกับการประคับน้ำแข็ง หรือจะดันรดสีดวงกลับเช้าไปแล้วขมิบก้นไว้สักพัก แต่ถ้ารู้สึกว่าทำแล้วไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ดีกว่า และไม่ควรปล่อยให้ตัวเองท้องผูกด้วย เพราะเสี่ยงที่จะเป็นริดสีดวงนั่นเอง
  4. ตะคริว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อของเรารับน้ำหนักที่มากขึ้น มดลูกขยายไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ของขา การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือเกิดจากการขาดแคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือและทารกได้ดึงสารอาหารเหล่านี้ไปใช้ด้วย นั่นทำให้คุณแม่เป็นตะคริวได้ เพราะฉะนั้นจึงควรออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้

ทั้งหมดนี้คืออาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 หรือช่วง 4-6 เดือน บางคนอาจมีอาการมากหรือน้อยต่างกันไป แต่ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยและดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง เพราะยิ่งใกล้คลอดก็ยิ่งต้องใส่ใจเต็มที่ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณมีพัฒนาการสมวัยสุขภาพดี