ปัจจัยในการ ตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่ทำลูกน้อยมีร่างกายไม่สมบูรณ์

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ปัจจัยในการ ตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่ทำลูกน้อยมีร่างกายไม่สมบูรณ์
ปัจจัยในการ ตั้งครรภ์ อะไรบ้างที่ทำลูกน้อยมีร่างกายไม่สมบูรณ์

คุณแม่ ตั้งครรภ์ หลายท่านอาจไม่ทราบข้อมูลที่ว่า มีทารกจำนวนไม่น้อยที่เกิดมาพร้อมกับสุขภาพร่างกายที่ไม่ค่อยจะแข็งแรงดีนัก ซึ่งเมื่อทราบแล้วอาจส่งผลทำให้คุณพ่อและคุณแม่ไม่ค่อยสบายใจ มีความห่วงใยและต้องดูแลลูกน้อยอย่างประคบประ หงม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็มีทางแก้ไข โดยมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้และปฏิบัติตามว่า ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องคำนึงปัจจัยหลายอย่างที่จะส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูกดังนี้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพและพัฒนาการต่างๆ ของลูก

1.สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่

อากาศที่แย่อันมาจาก ควันรถ ควันบุหรี่ มลภาวะต่างๆ สามารถส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของลูกน้อยได้ หากเป็นไปได้คุณแม่ควรเลี่ยงสภาพอากาศในลักษณะนั้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงที่ลูกน้อยจะมีปัญหาสุขภาพของทางเดินหายใจได้ เช่น หอบหืด หัวใจรั่ว เป็นต้น

2.พฤติกรรมของแม่ที่เสี่ยงต่อชีวิตลูกในครรภ์

คุณแม่บางท่านอาจจะติดนิสัยการสูบบุหรี่และไม่สามารถเลิกได้ เมื่อวางแผนที่จะมีลูกเข้ามาในชีวิต ควรเริ่มดูแลสุขภาพตัวเอง เลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด เพราะบุหรี่มีความเสี่ยงที่จะทำให้ลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ได้

3.อาหารที่ไม่มีประโยชน์

อารมณ์ที่แปรปรวนของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มาพร้อมกับระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การนึกอยากทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ทางตรงกับลูกน้อย คุณแม่เองสามารถทำได้ แต่ควรห้ามใจบ้างหากรู้สึกอยากทานอาหารเมนูนั้นบ่อยเกินไป เพราะนอกจากลูกน้อยจะไม่ได้รับคุณค่าของสารอาหารแล้ว คุณแม่ก็อาจจมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นเกินไปได้อีกด้วย นอกจากนี้อาหารที่ไม่มีคุณค่าใดๆ เลย ถ้างดได้ก็ควรงด เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เป็นต้น

4.ความวิตกกังวลและความเครียด

บางครั้งเมื่อมีเรื่องราวหรือเหตุการณ์กระทบ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีอาการเครียดง่ายกว่าคนปกติ พยายามหลีกเลี่ยงหรือหาวิธีผ่อนคลาย เพื่อปรับสมดุลของอารมณ์ หมั่นสร้างอารมณ์ขันและไม่เครียด ซึ่งพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ หากคุณแม่ไม่เครียดลูกน้อยก็จะเป็นเด็กที่อารมณ์ดี สดใส ร่าเริง ระบบต่างของร่างกายก็แข็งแรง ไม่ป่วยง่าย แต่ถ้าคุณแม่เครียดง่าย ก็จะส่งผลให้ลูกเลี้ยงยาก งอแง เจ็บป่วยง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง เป็นต้น

5.กรรมพันธุ์

หากกรรมพันธุ์หรือต้นกำเนิดมีโรคประจำตัวมาก่อนหน้านี้ ความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะมีโอกาสเป็นก็เกิดได้มากขึ้น เช่น โลหิตจาง หัวใจ เป็นต้น แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโดยการปฎิบัติตามคุณหมอแนะนำ เช่น การเลือกรับประทานอาหาร ทานวิตามินที่คุณหมอแนะนำ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนวางแผนการมีบุตร คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนก็ได้ เพื่อประเมินและวิเคราะห์ว่ามีความพร้อมที่จะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้หรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ต้องรู้สึกกังวลเมื่อเกิดการตั้งครรภ์แล้ว