เรื่องที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ วัยเกิน 35 ปี ต้องรู้

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/เรื่องที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ วัยเกิน 35 ปี ต้องรู้
เรื่องที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ วัยเกิน 35 ปี ต้องรู้

การ ตั้งครรภ์ ในทางการแพทย์พบว่า ผู้หญิงในวัยที่เหมาะกับการมีลูกมากที่สุด คือ วัย 20-35 ปี หากเลยอายุ 35 ไปแล้วอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนมากมาย ถึงกระนั้นด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมทั้งทางการเงินและเวลา ทำให้คุณผู้หญิงแต่งงานช้าลงและมีลูกหลังวัย 35 ถึงแม้คุณผู้หญิงวัยเกิน 35 ปี ร้อยละ 75 จะสามารถตั้งครรภ์และคลอดบุตรอย่างปลอดภัย แต่ก็มีบางเรื่องที่คุณแม่วัยเกิน 35 ปีควรรู้

โอกาสในการตั้งครรภ์

เมื่อคุณผู้หญิงมีอายุมากขึ้นความสามารถในการผลิตไข่ของรังไข่จะลดลง โดยจะลดลงตั้งแต่อายุ 30 ปี และเมื่อเลยวัย 35 ปีไปแล้ว การตกไข้จะลงลงเป็นอย่างยิ่ง จนมีผู้หญิง 1 ใน 3 ของผู้หญิงวัยเกิน 35 ปี กลายเป็นผู้มีบุตรยาก แต่ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นผู้หญิง 2 ใน 3 ที่มีบุตรได้ตามปกติ ก็ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ ที่คุณแม่วัย 35 ปีต้องทราบ

ความเสี่ยงของคุณแม่

1.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ งานวิจัยทางการแพทย์พบว่าคุณแม่วัยเกิน 30 ปี มีโอกาสที่จะเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มากพอๆ กับคุณแม่ที่เคยเป็นเบาหวานมาแล้ว และหากคุณแม่วัยเกิน 30 ปี มีน้ำหนักมากเกินไปก็ยิ่งมีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น โดยเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักจะมาพร้อมๆ กับโรคความดันโลหิตสูงด้วย

2.ครรภ์เป็นพิษ ครรภ์เป็นพิษส่วนใหญ่แล้วเป็นโรคแทรกซ้อนที่สืบเนื่องจากความดันโลหิตสูง และเป็นโรคที่คร่าชีวิตคุณแม่วัยเกิน 35 ปีมากที่สุด

3.โรคอื่นๆ เช่น รกเกาะต่ำ ถุงน้ำรังไข่ และซีสต์ในท่อนำไข่และโพรงมดลูก โรคเหล่านี้มักเกิดกับคุณแม่อายุเกิน 35 ปีทั้งสิ้น

ความเสี่ยงต่อลูกน้อย

1.ดาวซินโดรม สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุเกิน 35-40 ปี ลูกจะมีโอกาสเป็นดาวซินโดรมในอัตราส่วน 1 ใน 200 แต่หากคุณแม่อายุเกิน 40 ลูกจะมีโอกาสเป็นดาวซินโดรมในอัตรา 1 ใน 70

2.ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์มารดา (Stillbirth) คุณแม่อายุมากกว่า 40 ปี จะมีโอกาสทารกเสียชีวิตในครรภ์สูงขึ้นถึง 3 เท่าของคุณแม่อายุ 20 ปี โดยทารกมักเสียชีวิตหลังการตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์

น้ำนมของคุณแม่วัยเกิน 35 ปี

คุณแม่วัยเกิน 35 ปี มักมีน้ำนมน้อยกว่าปกติ ทำให้ต้องเสริมนมผงให้กับลูก ซึ่งนอกจากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากในแต่ละเดือนแล้ว ยังทำให้ลูกอาจได้รับนมน้ำเหลือง ซึ่งมีภูมิคุ้มกันอยู่มาก ไม่เพียงพอ อีกทั้งยังทำให้ลูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นอีกด้วย