การสื่อสารของลูกน้อยในครรภ์ที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ ต้องรู้ไว้

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/การสื่อสารของลูกน้อยในครรภ์ที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ ต้องรู้ไว้
การสื่อสารของลูกน้อยในครรภ์ที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ ต้องรู้ไว้

การสื่อสารของลูกน้อยในครรภ์ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ ควรรับรู้ไว้ เพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหว พัฒนาการต่างๆ การเจริญเติบโตของลูกน้อยตลอดเวลา ซึ่งเป็นความสัมพันธ์อันดีที่แสนพิเศษระหว่างคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ตลอดทั้ง 9 เดือน

การรับรู้ของลูกน้อย

เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกในสัปดาห์ที่ 4 ของการตั้งครรภ์ มีการสร้างระบบภายใน หู ดวงตา ลิ้น การรับรู้เรื่อง กลิ่น รสชาติ ที่ลูกน้อยเริ่มรับรู้ได้ โดยประมาณสัปดาห์ที่ 13 ลูกน้อยจะค่อย ๆ กลืน และหายใจเอาของเหลวที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบสร้างขึ้นจากสารประกอบอะโรมาติก เป็นกลไกของการเริ่มต้นของการรับรู้รสชาติของลูกน้อย

การรับรู้ผ่านทางอารมณ์

ลูกน้อยสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของคุณแม่ได้ คุ้นเคยวิธีการพูดและการเคลื่อนไหวของคุณแม่ และยังสามารถรับรู้อารมณ์อื่น ๆ ได้อีก เช่นผลของความเครียด อาการตกใจ ผ่านสารต่าง ๆที่ร่างกายของคุณแม่สร้างขึ้น ยิ่งคุณแม่เครียดมากเท่าไร ลูกน้อยจะเครียดมากตามเท่านั้น

การรับรู้ผ่านทางด้านโภชนาการ

ทุกครั้งที่คุณแม่กินอาหาร โมเลกุลอะโรมาติกของอาหารจะผ่านสู่กระแสเลือดและส่งไปยังลูกน้อยผ่านทางรกหรือน้ำคร่ำ ช่วงเวลาอันดีคือเดือนที่ 5 ที่ลูกน้อยจะสามารถจดนำรสชาติของอาหารได้ คุณแม่ควรทานอาหารให้หลากหลาย มีความสุขกับการกินอาหาร จะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่ดีเยี่ยม

การรับรู้ผ่านทางท่าทาง

ลูกน้อยจะสามารถรับรู้ได้ประมาณเดือนที่ 5 ด้วยการลูบสัมผัสหน้าท้อง การดูดนิ้วหัวแม่มือ การจับเท้าของตัวเอง ลูกน้อยจะตอบสนองต่อการลูกสัมผัสหน้าท้องของคุณแม่ได้มากขึ้น

การรับรู้ผ่านทางเสียง

ช่วงเวลาเดือนที่ 6 ลูกน้อยจะสามารถรับรู้เสียงต่าง ๆ ที่ได้ยินในแต่ละวันได้ เช่น เสียงของคุณแม่ คุณพ่อ เสียงเต้นของหัวใจคุณแม่ เสียงเพลง โดยลูกน้อยจะเริ่มตอบสนองด้วยการเคลื่อนไหว หรือตามจังหวะหัวใจที่เต้น ลูกน้อยจะมีความสุขเมื่อได้พูดคุยกับเขา

ดังนั้น การที่คุณแม่จะสามารถรับรู้สื่อสารของลูกน้อยในครรภ์ได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่คุณแม่ที่จะเป็นผู้รับรู้ได้จากสัมผัสอันละเอียดอ่อนของคุณแม่กับลูกน้อยจากสัมผัสหลาย ๆ อย่างข้างต้นได้เป็นอย่างดี ด้วยการเอาใจใส่ในทุกช่วงเวลาในระหว่างตั้งครรภ์ให้ดีที่สุด เพื่อคุณแม่และลูกน้อยได้มีสุขภาพจิตที่แข็งแรงตลอด 9 เดือนอย่างมีความสุข