ภาวะ ตั้งครรภ์ นอกมดลูก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ภาวะ ตั้งครรภ์ นอกมดลูก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่
ภาวะ ตั้งครรภ์ นอกมดลูก เกิดขึ้นได้อย่างไร อันตรายหรือไม่

คุณแม่ ตั้งครรภ์ อายุมาก มีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์อายุน้อย แต่ไม่อยากให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีความกังวลมากเกินไป เพราะการที่จะเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นโอกาสเป็นไปได้น้อย แต่ถ้าเกิดขึ้นคุณแม่ก็ควรศึกษาหาข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวได้ตั้งแต่ต้น

ภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดขึ้นได้อย่างไร การท้องนอกมดลูกเกิดจากไข่ที่ผสมแล้วไม่เคลื่อนตัวไปยังมดลูก แต่มักฝังตัวอยู่ในบริเวณท่อน้ำไข่ หรืออวัยวะอื่น ๆ ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อย เช่น ปากมดลูก รังไข่ พื้นที่ว่างในช่องท้อง หรือแม่แต่บริเวณรอยแผลเป็นจากการคลอดที่หน้าท้อง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ไข่ที่ผสมแล้วไม่เคลื่อนไปฝังตัวในมดลูกตามกรบวนการตั้งครรภ์ปกติ คือ

•เกิดจากความผิดปกติของการพัฒนาภายในไข่หลังการปฏิสนธิ

•ท่อนำไข่ได้รับความเสียหาย มีลักษณะผิดรูปผิดร่าง

•มีภาวะอุ้งเชิงกรานอับเสบ มดลูกอักเสบ ท่อนำไข่อักเสบ หรือรังไข่เกิดการติดเชื้อ

•มีรอยแผลเป็นจากการผ่าตัดก่อนหน้าที่บริเวณอุ้งเชิงกราน

•เคยมีประวัติท้องนอกมดลูกมาก่อน

•การใช้ยารักษาภาวะมีบุตรยาก

อาการตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยระยะแรกจะไม่ค่อยแสดงอาการให้เห็นเด่นชัดเพียงแต่จะมีอาการทั่ว ๆ ไปเหมือนภาวะตั้งครรภ์ปกติคือ ประจำเดือนไม่มา อาการอาเจียน คลื่นไส้ ทั่วไป แต่เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์มีภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก มักจะมีอาการนอกเหนือจากนี้คือ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน มีเลือดไหลออกจากช่องคลอดจำนวนมาก มีภาวะช็อค ปวดหัวรุนแรง และปวดบริเวณตามไหล่ คอ และทวารหนัก อาการเหล่านี้ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน

การรักษาภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ โดยตัวอ่อนที่ฝังตัวอยู่นอกมดลูกจะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นทารกได้อีก ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วยการนำตัวอ่อนนั้นออกไป

•การใช้ยา แพทย์จะจ่ายยาเพื่อรักษาตามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะจ่ายยาที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวกลายเป็นเนื้อเยื่อเจริญเติบโตต่อไป

•การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่งผ่าตัดสร้างรูเล็ก ๆ นำเครื่องมือชนิดพิเศษสอดเข้าไป แล้วนำตัวอ่อนที่ฝังตัวนอกมดลูกออกไปรวมถึงทำการรักษาเนื้อเยื่อซ่อมแซมบริเวณท่อนำไข่ที่ได้รับความเสียหาย

•การรักษาภาวะอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนนี้จากการท้องนอกมดลูก เช่น ภาวะช็อกจากการเสียเลือดมาก หรือ ภาวะอักเสบติดเชื้อต่าง ๆ ได้

หลังการผ่าตัดหรือการรักษาแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องได้รับการพักรักษาตัวอยู่สักระยะ ปฏิบัติตนตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเมื่อคุณแม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ครั้งใหม่ คุณแม่จะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนถึงการปฏิบัติตนและดูแลเป็นพิเศษในด้านใด เพราะภาวะโอกาสที่จะเกิดตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจเกิดขึ้นได้อีก