เมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ มีวิธีรักษาอย่างไร

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/เมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ มีวิธีรักษาอย่างไร
เมื่อคุณแม่ ตั้งครรภ์ เป็นภาวะครรภ์เป็นพิษ มีวิธีรักษาอย่างไร

เมื่อไรก็ตามที่คุณเดินทางเข้าสู่โหมดคุณแม่ ตั้งครรภ์ เมื่อไร คงต้องมีคำถามมากมายเข้ามาสู่สมองของคุณแน่เลยว่าจะทำอย่างไรให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรค หรือโรคภัยตามมาระหว่างตั้งครรภ์ อย่างเช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ คืออะไร อันตรายต่อคุณแม่และลูกน้อยหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้คุณแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลอะไรมากนัก เพราะภาวะครรภ์เป็นพิษความจริงไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ หากคุณแม่ปฏิบัติตัวให้แข็งแรงอยู่เสมอและเป็นคุณแม่ในวัยที่เหมาะสม

ภาวะครรภ์เป็นพิษคือ ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในขณะตั้งครรภ์ โดยจะมีลักษณะเฉพาะคือมีความดันโลหิตสูงในหญิงที่ไม่เคยเป็นความดันโลหิตสูงมาก่อน และพบโปรตีนสูงในปัสสาวะ มีอาการบวมตามมือ เท้า และ ขา เป็นภาวะอันตรายรุนแรงที่อาจนำไปสู่การชักร่วมกับครรภ์เป็นพิษ ทำให้คุณแม่และลูกน้อยได้รับความเสี่ยงมากขึ้น และในบางกรณี อาจถึงแก่ชีวิตได้

สาเหตุของครรภ์เป็นพิษ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของภาวะครรภ์เป็นพิษ แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันที่ทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้แก่

•กรรมพันธุ์ มีบุคคลในครอบครัวเคยมีประวัติครรภ์เป็นพิษ
•มดลูกได้รับเลือดไม่เพียงพอ
•ระบบภูมิคุ้มกันเกิดความผิดปกติ
•มีโรคประจำตัวเรื้อรังก่อนการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคเอสแอลอี โรคไต
•ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์น้อยกว่า 2 ปี หรือมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
•ตั้งครรภ์อายุน้อย หรือ อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

ผู้ที่เสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ คือหญิงตั้งครรภ์ครั้งแรก และในผู้หญิงอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป แม้จะมีร่างกายที่แข็งแรงหรือไม่เคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อนก็ตาม ซึ่งยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่น ประวัติความดันโลหิตสูงก่อนตั้งครรภ์, มีมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ, อุ้มท้องเด็กมากกว่าหนึ่งคน หรือ มีประวัติโรคเบาหวาน โรคไต

อาการครรภ์เป็นพิษคือ อาการที่พบคือ

•อาการบวมขึ้นทันทีตามใบหน้า มือ ดวงตา
•ความดันโลหิตสูง 140/90 มิลลิเมตรปรอทโดยพบระดับความดันนี้ในระยะห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
•การพบโปรตีน หรือ ไข่ขาวในปัสสาวะ
•อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง หรือ อาการรุนแรงอาจจะชักกระตุกทั้งตัว หรือเลือดออกในสมอง
•ปัสสาวะน้อยลง หรือ ไม่ได้เลย
•การมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเหลวในร่างกายเป็นจำนวนมาก
•เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
•การทำงานของตับบกพร่อง

วิธีป้องกันครรภ์เป็นพิษ
•ฝากครรภ์และพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ
•หลีกเหลี่ยงอาหารรสเค็มหรือมีโซเดียมมาก อาหารไขมันสูงของทอด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน
•ยกขาให้สูงในระหว่างวันบ่อย ๆ
•ดื่มน้ำให้มาก ๆ ประมาณ 6-8 แก้วต่อวัน
•รับประทานยาหรืออาหารเสริมตามคำสั่งของแพทย์ ห้ามซื้อยาหรือวิตามินเสริมมาทานเองโดยเด็ดขาด

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ก็จะต้องดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์ ไปตรวจครรภ์เป็นประจำตามนัดหมาย หลีกเหลี่ยงภาวะที่จะเสี่ยงอาการครรภ์เป็นพิษ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดทั้ง 9 เดือนปราศจากโรคภัยถามหาระหว่างตั้งครรภ์ได้