การดูแลพิเศษสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ลูกแฝด

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/การดูแลพิเศษสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ลูกแฝด
การดูแลพิเศษสำหรับคุณแม่ ตั้งครรภ์ ลูกแฝด

คุณแม่หลายคนคงจะมีความรู้สึกที่พิเศษสุด เมื่อรู้ว่าตัวเองกำลัง ตั้งครรภ์ ลูกแฝด เพื่อที่จะได้คลอดลูกครั้งเดียวแต่มีลูกถึง 2 คน ในเวลาเดียวกัน แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ว่า การตั้งครรภ์ลูกแฝดมีถึง 2 ชีวิตที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษมากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ทั่วไปมากกว่าหลายเท่า ดูแลอย่างไรให้ปลอดภัยตลอดจนครบ 40 สัปดาห์ทั้งคุณแม่และคุณลูกทั้ง 2 เรามีคำแนะนำดี ๆ มาฝากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝดกัน

การตั้งครรภ์แฝดคือ การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิที่มากกว่า 1 ตัว ภายในโพรงมดลูก อาจเกิดจากไข่ 1 ใบที่มีการปฏิสนธิซ้อน หรือ เกิดจากการปฏิสนธิของไข่ 2 ใบในระยะเวลาห่างกันเพียงเล็กน้อย จึงมีผลทำให้เกิดตัวอ่อนขึ้นมากกว่า 1 ตัว

ชนิดของการตั้งครรภ์แฝด

•แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันหรือแฝดเหมือน เป็นครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วใบเดียว ทารกแฝดจะมีรูปร่างหน้าตา เพศ ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
•แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ เป็นครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิ 2 ใบ ทารกแฝดชนิดนี้จะมีรูปร่างหน้าตา ลักษณะทางพันธุกรรมต่างกัน ส่วนเพศอาจะหมือนหรือต่างกัน

ภาวะอาการคุณแม่ที่มีช่วงอายุครรภ์แฝดภายใน 14 สัปดาห์
oคุณแม่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมากกว่าปกติ การบริโภคอาหารให้ทานปริมาณน้อย แต่บ่อย ให้หลีกเหลี่ยงอาหารมัน รวมทั้งกิจกรรมที่หนักเกินไป เพราะเป็นช่วงที่มีโอกาสแท้งบุตรได้ง่าย และมีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษ คุณแม่ต้องระวังไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มเกินเกณฑ์มาตรฐาน
ภาวะอาการคุณแม่ที่มีช่วงอายุครรภ์แฝดมากกว่า 14 สัปดาห์
oคุณแม่อาจมีโอกาสเจ็บท้องคลอดก่อนกำหนด หากสังเกตุอาการท้องแข็งเป็นพัก ๆ หรือ 5-6 ครั้งต่อชั่วโมง หรือ อาจมีมูกเลือดหรือน้ำเดินร่วมด้วย

การดูแลเป็นพิเศษสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ลูกแฝด
•ด้านการดูแลตัวเอง :

oคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดต้องรู้จักควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งควบคุมเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการครรภ์เป็นพิษได้ง่าย
oคุณแม่ตั้งครรภ์แฝดจำเป็นต้องได้รับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วง 6-7 เดือนก่อนคลอด
oไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มคาเฟอีน หรือสารเสพติดใด ๆ
oทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ออกกำลังกายเบา ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ
oคุณแม่กำลังมีอีก 2 ชีวิตในครรภ์ จึงไม่ควรทำงานหนักหักโหม หรือยกของหนักเด็ดขาด

•ด้านการบริโภคอาหาร :

oควรเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงมากเป็นพิเศษ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
oเพิ่มสารอาหารจำเป็นต่อการคลอด เช่น กรดโฟลิก และ ธาตุเหล็กให้มากขึ้น
oหลีกเหลี่ยงอาหารที่ปรุงแบบสุก ๆ ดิบ ๆ หรืออาหารไม่สะอาด
oทานอาหารที่อุดมด้วยกรดโฟลิก ธาตุเหล็ก แคลเซียม สารอาหารที่ให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรง พบได้ในข้าว แป้ง ขนมปัง นม ผักผลไม้ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ตั้งครรภ์แฝดไม่ต้องวิตกกังวลมากจนเกินไป เพราะถ้าคุณแม่กังวลมีความเครียด จะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้โดยตรง อาจทำให้ลูกน้อยไม่แข็งแรง เจริญเติบโตช้ากว่าปกติก็เป็นได้