
เค็ม เป็นอีกรสชาติที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ ต้องรัวัง เพราะอาหารไทยนั้นมีอยู่หลายเมนูหลายชนิดที่มีรสเค็มเป็นหลัก แน่นอนว่าร่างกายของแม่ต้องการโซเดียมจากเกลือ แต่ก็ไม่ได้ต้องการในปริมาณที่มากไป เพื่อไม่ให้ส่งผลถึงสุขภาพร่างกายแม่ท้องและลูกในท้อง โดยการทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด อวัยวะต่างๆในร่างกายของคุณแม่ทำงานหนักขึ้น เช่น การทำงานของไต เป็นต้น
อาหารที่มีรสชาติเค็มและต้องควบคุมให้ดี
- ผงชูรส
ผงชูรส คือ สารที่ทำให้ก่อมะเร็ง ส่งผลทำให้โครโมโซมในร่างกายเปลี่ยนแปลง ไม่เฉพาะคุณแม่ตั้งท้อง คนทั่วไปก็ไม่ควรทานอาหารที่ใส่ผงชูรส โดยผลกระทบจากคุณแม่ตั้งครรภ์ทานผงชูรสมากๆอาจทำให้เด็กในครรภ์พิการหรือเสียชีวิต หรือคลอดออกมามีความเสี่ยงพิการสูง
- อาหารหมักดอก
อาหารหมักดอก อาหารตากแห้ง อาหารเหล่านี้จะใส่พวกเกลือ น้ำปลา และเครื่องปรุงรสต่างๆมากมาย อย่างที่เราไม่อาจทราบได้เพราะมาในแบบแปรรูปแล้วนั้นเอง อาหารพวกนี้จะทำให้ร่างกายมีปริมาณโซเดียมสูงกว่าปกติ จะทำให้คุณแม่รู้สึกกระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ไตทำงานหนัก และเสี่ยงต่ออาการความดันโลหิตสูง ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
- เครื่องปรุง
เครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว พริกแกง ซุปก้อน เครื่องจิ้มต่างๆ อาทิ น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสุกี้ เครื่องปรุงเหล่านี้มักมีความเค็มเพราะใส่เกลือหรือโซเดียมลงไปมากนั้นเอง
- ขนมขบเคี้ยว
ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอด ข้าวเกรียบ คอร์นพัฟ ปลาเส้น ปลาหมึกอบ ส่วนใหญ่จะมีการใส่ปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง จึงไม่เป็นผลดีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์
การทานเค็มที่เหมาะสมของคุณแม่
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรบริโภคอาหารที่มีโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัม เท่ากับเกลือแกง 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารหมักดอง กินอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ พยายามเลือกชนิดที่มีโซเดียมน้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน ผลวิจัยจากต่างประเทศพบกว่า หากคุณแม่ทานเค็มมากเกินไปในช่วงตั้งครรภ์ เด็กที่คลอดออกมาจะชอบทานอาหารรสเค็ม หรือติดรสเค็มตามไปด้วย โดยเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรป้องกัน เนื่องจากการกินเค็มมากเกินไปในเด็กอาจทำให้เด็กเป็นความดันโลหิตสูงได้