7 คำถามที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ อยากรู้มากที่สุด ตอนที่ 1

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/7 คำถามที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ อยากรู้มากที่สุด ตอนที่ 1
7 คำถามที่คุณแม่ ตั้งครรภ์ อยากรู้มากที่สุด ตอนที่ 1

เมื่อสวรรค์มอบของขวัญที่มีค่ามากที่สุดให้กับคุณแม่ ตั้งครรภ์ นอกจากคุณแม่จะมีความสุขกับการได้รับของขวัญอันล้ำค่าแล้ว สิ่งที่ตามมาคือคุณแม่จะมีความกังวลและคำถามตามมามากมายว่า เมื่อตั้งครรภ์แล้วอะไรบ้างที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิต วันนี้เรามาดูกันนะคะว่าคำถามอะไรบ้างที่คุณแม่สงสัยและจะมีคำตอบให้อย่างไรบ้าง

•จำเป็นหรือไม่ต้องฉีดยา หรือวัคซีนต่าง ๆระหว่างตั้งครรภ์ ในช่วงตั้งครรภ์จะมีวัคซีนไม่กี่ชนิดที่คุณแม่ต้องฉีดตาม องค์การอนาทมมัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยได้กำหนด ต้องฉีดวัคซีนบาดทะยักให้เป็นวัคซีนจำเป็นสำหรับแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดทุกคนเพื่อป้องกันการติดเชื้อกับทารกแรกเกิด จะมีก็วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน ที่คุณแม่ต้องปรึกษาคุณหมอก่อนฉีด ส่วนวัคซีนที่ห้ามฉีดขณะตั้งครรภ์เลยคือวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน

•ควรทานวิตามินเสริมหรือยาบำรุงครรภ์หรือไม่ ความจริงแล้วสารอาหารที่ครบถ้วนส่วนใหญ่มีอยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่จากธรรมชาติอยู่ เพียงแต่มีสารอาหารที่คุณแม่ควรหาทานเพิ่มมากขึ้นคือ ธาตุเหล็ก ที่ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงที่เป็นตัวนำออกซิเจนไปสู่ทารกในครรภ์ เพื่อป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันการตกเลือดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังมี แคลเซียม ที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ โฟเลต วิตามินที่คุณแม่ต้องทานล่วงหน้าเพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างน้อย 1-3 เดือน เพื่อป้องกันทารกในครรภ์มีภาวะสมองพิการผิดปกติ สำหรับวิตามินอาหารเสริมทั่วไปคุณแม่อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาหาซื้อทานเอง ยาและวิตามินสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ควรอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์เท่านั้น

•น้ำหนักในช่วงตั้งครรภ์ที่ปกติควรขึ้นเท่าไร ตลอดการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 12-15 กิโลกรัม โดยแบ่งแต่ละไตรมาส ควรขึ้นอย่างช้าๆดังนี้

a.ไตรมาสแรก ตลอดทั้งไตรมาส น้ำหนักจะขึ้นประมาณ 1-2 กิโลกรัม เกือบครึ่งของแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักลดซึ่งไม่ผิดปกติแต่อย่างใด ยกเว้นน้ำหนักลดมากกว่า 4 กิโลกรัม ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน
b.ไตรมาสสอง น้ำหนักจะขึ้นประมาณโดยเฉลี่ย 1/2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในไตรมาสสองนี้น้ำหนักโดยรวมประมาณ 4-8 กิโลกรัม
c.ไตรมาสสาม จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดไตรมาสเพียง 2-3 กิโลกรัม บางคนก็คงที่บางคนก็ลดลงไม่เป็นไร

•ภาวะครรภ์เสี่ยงคืออะไร การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยหลายอย่างเข่น โรคประจำตัวของคุณแม่เอง เช่นเคยมีประวัติคลอดบุตรยาก เคยผ่าตัดมดลูก เคยแท้งบุตรรวมถึงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ขณะมีอายุตั้งแต่ 35 ขึ้นไป ซึ่งภาวะเสียงอาจทำให้เกิดอันตรายหรือเสียชีวิตต่อแม่และทารกในครรภ์ทั้งในระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด รวมถึงหลังคลอดได้