สัมผัสแรกจากแม่สู่ลูกน้อย สำคัญมากเพียงใด

หน้าแรก/วิธีเลี้ยงลูก/สัมผัสแรกจากแม่สู่ลูกน้อย สำคัญมากเพียงใด
สัมผัสแรกจากแม่สู่ลูกน้อย สำคัญมากเพียงใด

เชื่อว่าสำหรับคนเป็นแม่ คงไม่มีช่วงเวลาแห่งความสุขใด ที่สามารถเทียบได้กับวันแรกที่เห็นลูกน้อยลืมตาดูโลก และได้มอบสัมผัสแรกให้กับลูกอย่างอ่อนโยนและอบอุ่นที่สุด ความสุขที่เกิดขึ้นจากการสัมผัส ก่อให้เกิดเป็นสายสัมพันธ์ความรักแบบไม่มีเงื่อนไขของแม่สู่ลูก ยอมที่จะปกป้องและดูแลเค้าอย่างถนุถนอมและอ่อนโยนที่สุดตลอดไป

การเริ่มต้นถ่ายทอดความรักและสายสัมพันธ์ จากแม่ไปสู่ลูกที่ดีที่สุดคือ “การสัมผัส” ซึ่งถือเป็นภาษาแรกที่ลูกจะได้เรียนรู้จากแม่ เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาด้านอารมณ์และสติปัญญาของลูกน้อย มากไปกว่านั้น การสัมผัสยังเป็นการเชื่อมสายใยรักระหว่างแม่ลูกให้ยิ่งแนบแน่น โดยโมเม้นต์แห่งการสัมผัสระหว่างแม่ลูกเกิดขึ้นได้ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการอุ้มลูกเพื่อให้นม การอุ้มขณะเปลี่ยนผ้าอ้อม การกอดลูกตอนนอน หรือแม้แต่การกล่อมอ่านนิทาน

ซึ่งเหล่าคุณแม่รู้ไหมว่า.. นอกจากกิจวัตรประจำวันที่เกิดขึ้นแล้ว การแสดงความรู้สึกผ่านการกอด อุ้ม และการหอมลูก ก็เป็นอีกหนึ่งสัมผัสที่แสดงออกถึงความรัก ความเอ็นดู และยังเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างลูกกับแม่ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น รวมไปถึงการจับตัวลูกน้อยซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน ดังนั้น คุณแม่ควรหมั่นจับมือลูกน้อยเอาไว้บ่อยๆ เพราะจะทำให้เขารับรู้ได้ถึงความปลอดภัย ทำให้ลูกน้อยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่เกิดอาการกลัว และพัฒนาให้เค้าเติบโตอย่างมั่นคง

อีกกิจวัตรที่สำคัญที่ทำให้คุณแม่จะได้สัมผัสกับลูกอย่างใกล้ชิดและทั่วถึงมากที่สุด ก็คือ ช่วงเวลาอาบน้ำ ขณะที่คุณแม่กำลังลูบไล้ไปตามบริเวณผิวกายของลูก ที่ทั้งแม่และลูกจะได้สานสายใยรักให้แก่กันและกัน เพิ่มช่วงเวลาแสนพิเศษที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์แห่งความรักที่หาคำเปรียเทียบไม่ได้

นอกจากนี้ การนวดตัวลูกน้อยด้วยโลชั่น ก็ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโลชั่นนั้นมีกลิ่นหอมอ่อนละมุน ก็จะยิ่งช่วยทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้ง่ายๆ ซึ่งการนวดนวดลูกน้อยในตอนเช้า จะช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนในร่างกายได้เป็นอย่างดี หรือหากนวดก่อนนอน ก็ช่วยทำให้ หลับง่าย และหลับสนิทตลอดทั้งคื

ทั้งหมดคือความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสของแม่สู่ลูก แต่ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสในรูปแบบใด คุณแม่จำเป็นต้องตระหนักถึง ‘ธรรมชาติของผิวลูกน้อย’ ด้วยเช่นกัน เพราะโครงสร้างของผิวเด็กแรกเกิดนั้นไม่แข็งแรงเท่าผู้ใหญ่ รวมถึงผิวชั้นนอกของเด็กแรกเกิดยังรักษาความชุ่มชื้นได้ไม่ดี มีอัตราการสูญเสียน้ำในผิวได้รวดเร็ว ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสบ่อยๆ ก็ยิ่งเกิดความสูญเสียความชุ่มชื้น อาจเป็นส่วนหนึ่งของความแห้งกร้าน และเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย

ข้อมูลจาก : จอห์นสัน แม่และลูก