ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 หูของลูกจะได้ยินมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี

หน้าแรก/การตั้งครรภ์/ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 หูของลูกจะได้ยินมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี
ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 หูของลูกจะได้ยินมากขึ้น ช่วยกระตุ้นเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี

ตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 22 เข้าสู่เดือนที่ 5 ของการตั้งท้อง ทารกในครรภ์จะมีความยาวเกือบ 8 นิ้ว น้ำหนักประมาณ 500 กรัม หรือ เทียบเท่ากับกะหล่ำปลีหัวเล็กๆ ลูกสามารถขยับเนื้อตัวได้แบบคล่องแคล่ว โดยหูได้ยินชัดเจนแล้ว ลูกจะได้ยินเสียงภายในร่างกายของคุณแม่และเสียงจากภายนอก ในช่วงนี้การใช้ดนตรีหรือการเปิดเพลงเบาๆ และจะช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ ใบหน้าของทารกจะพัฒนาดวงตาและปากแล้ว หน้าตาของลูกในท้องตอนนี้จึงดูละม้ายคล้ายกับทารกแรกเกิด ฟันซี่เล็กๆ ก็ขึ้นเป็นตุ่มๆ ใต้เหงือกแล้ว ขณะที่ระบบสืบพันธุ์จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทารกเพศชายลูกอัณฑะจะเริ่มเคลื่อนลงมา ส่วนทารกเพศหญิงเริ่มมีการจัดวางรังไข่และมดลูกให้อยู่ตำแหน่งปกติ และช่องคลอดจะมีการพัฒนา รวมทั้งจะมีไข่เพียงพอสำหรับการเจริญพันธุ์ในอนาคต

สำหรับคุณแม่ นอกจากเรื่องนํ้าหนักตัวกับการตกขาวแล้ว อาจมีอาการจุกท้อง อาหารไม่ย่อย มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจะดันกระเพาะอาหารทำให้เกิดกรดไหลย้อนทำให้เกิดอาการจุกบริเวณหน้าอก การแก้ไขให้หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อน และหลังอาหารเนื่องจากจะทำให้อาการแย่ลง ท้องผูกมดลูกที่โตจะกดลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

ส่วนคุณแม่ที่มีอาการตะคริว อาจลดอาการเป็นตะคริว ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและโพแทสเซียมให้มากขึ้น อาทิ รับประทานนม 1 แก้วก่อนนอน ทานวิตามิน หรือของว่างที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ส้ม และกล้วย หากคุณเป็นตะคริวที่ขา ให้ลองงอนิ้วเท้าเข้าหาตัว และเหยียดขาตรง

นอกจากนี้ อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายคุณแม่จะเพิ่มมากกว่าปกติประมาณ 20 % คุณแม่จะรู้สึกขี้ร้อนมากทั้งกลางวันและกลางคืน แนะนำให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งหรือที่อับนานๆ ควรดื่มน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อน

ขณะเดียวกันรองเท้าของคุณแม่ช่วงนี้อาจไม่พอดีกับเท้าอีกต่อไป คุณแม่อาจไม่เชื่อว่าคุณต้องใส่รองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเบอร์เลยทีเดียว เท้าของคุณแม่จะบวมขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้มีน้ำอยู่ในเซลล์มากขึ้น ดังนั้นควรมองหารองเท้าคู่ใหม่ที่ใส่สบายกว่า ให้ลืมรองเท้าส้นสูงไปเลย หารองเท้าที่คุณแม่เดินได้สะดวก และไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายๆก็จะปลอดภัยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะต้องเน้นในเรื่องของการเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อไม่ให้มีอาการเมื่อย และในเรื่องของเครื่องประดับ คุณแม่ที่เคยสวมแหวน กำไลข้อมือ แล้วรู้สึกคับ อึดอัด ควรหยุดใส่ไปก่อน เนื่องจากแม่ท้องจะมีอาการนิ้วบวม มือและเท้าบวม หากยังใส่ไปเรื่อยๆจะมีปัญหาในการถอดออกลำบาก หรืออาจสร้างความเจ็บปวด ไปจนถึงบาดแผลได้